การปลูกถั่วเขียวหลังนา ดินได้ปุ๋ย คนได้เงิน

0


ถั่วเขียว พืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย เหมาะสำหรับปลูกทดแทนนาปรัง เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูข้าว สามารถนำมาปลูกเพื่อสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร และทำปุ๋ยพืชสดในนาข้าวในช่วงที่เว้นว่างจากการทำนาปรัง สาระน่ารู้คู่เกษตรกับธัญธวัชการเกษตร ขอเชิญชวนปลูกถั่วเขียว สุดยอดพืชยอดนิยมหลังนาได้ประโยชน์ 2 ต่อ

การเลือกพื้นที่ปลูก ถั่วเขียวสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย ระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง และถ่ายเทอากาศได้ดี

ฤดูปลูก : สามารถปลูกได้ตลอดปี คือ ต้นฤดูฝน ปลายฤดูฝน และแล้ง หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปี

- ต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน เป็นการ ปลูกถั่วเขียวผิวมันก่อนการปลูกพืชไร่อื่นๆ ถั่วเขียวจะได้รับปริมาณฝน ตลอดฤดูปลูก มีการเจริญเติบโต แตกกิ่ง ก้าน สาขามากกว่าการปลูกใน ฤดูอื่นๆ เวลาออกดอกจะติดฝักช้าแต่ผลผลิตต่อไร่จะสูง ผลเสียของการปลูก ในช่วงนี้คือ กระทบฝนขณะเก็บเกี่ยวทำให้คุณภาพลดลง

- ปลายฤดูฝน ประมาณเดือนสิงหาคมและกันยายน เป็นการปลูก ตามหลังพืชไร่อื่นๆ การปลูกในช่วงนี้ เกษตรกรจะปลูกถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ ผลผลิตที่ได้จะต่ำกว่าการปลูกช่วงฝน เนื่องจากปริมาณ น้ำฝนอาจจะไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะถ้าฝนหยุดเร็วในช่วง ถั่วออกดอกจะมีผลกระทบต่อผลผลิตมาก แต่คุณภาพเมล็ดดีกว่าเพราะ เก็บเกี่ยวช่วงฝนหมด

- ฤดูแล้ง ประมาณเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ หลังเก็บเกี่ยว ข้าวนาปี ถ้าต้องการผลผลิตสูงไม่ควรปลูกเกินปลายเดือนมกราคม แต่ถ้าอากาศ หนาวอุณหภูมิต่ำกว่า15 องศาเซลเซียส ควรปลูกช้าออกไปโดยให้เก็บเกี่ยว ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมก่อนฝนตกชุม

สภาพภูมิอากาศ : อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วเขียว25-35 องศาเซลเซียสควรหลีกเลี่ยงการปลูกในช่วงอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส เนื่องจากจะทำให้ต้นถั่วเขียวชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกร็น

วิธีปลูก :

- ไถด้วยผานสาม 1 ครั้ง และตากดิน 7-10 วัน พรวนดินด้วยผาลเจ็ด 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก รากเหง้า หัวไหล ของวัชพืชออกจากแปลง

- ฉีดล้างแปลงด้วยกลูโฟซิเนต แอมโมเนียมทิ้งไว้15วัน

- ปรับระดับหน้าดินให้สม่ำเสมอ หรือมีความราดเอียงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง

- การใส่ปุ๋ยแก่ถั่วเขียวมักใช้ปุ๋ยสูตรเคมี+ปรับสภาพดิน 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่+ปุ๋ยเฮชชดีอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ หว่านรองพื้นหรือโรยตามแนวร่องก่อนปลูก

- หว่านเมล็ดถั่วเขียวอัตรา 5-6 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ดินยังมีความชื้นเพียงพอสำหรับการงอกของเมล็ด แล้วพรวนดินกลบทันที ควรมีการขุดร่องระบายน้ำ เพื่อให้การระบายน้ำเร็วขึ้น

- อายุถั่วเขียว 15 วันขึ้นไปฉีดเฮชช.ดี ซีฟอร์สคุณสมษัติ : ช่วยให้พืชแตกตาดอก ดอกสมบูรณ์ ช่วยสังเคราะห์แสง ใบเขียวเข้ม ขั้วเหนียว เพิ่มการติดผล เพิ่มคุณภาพผลผลิต วัตถุดิบ

วิธีใช้ : ใช้อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

ยากำจัดวัชพืช :

- โฟมีซาแฟน

ใช้หลังวัชพืชงอก ในถั่วเขียวเพื่อกำจัดวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น ผักโขม ผักโขมหิน ผักเบี้ยหิน ผักโขมหนาม น้ำนมราชสีห์ ผักเบี้ยใหญ่ และผักเสี้ยนดอกขาว

ใช้อัตรา 120-160 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 60-80 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ หรืออัตรา 30-40 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 15-20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน โดยพ่นหลังวัชพืชและถั่วเหลือง งอกแล้วที่ 20 วันหลังปลูก

- ฟลูอะซิฟอป-พี-บิวทิล

ใช้หลังวัชพืชงอก ในแปลงถั่วเขียว เพื่อกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้าตีนติด หญ้าดอกขาว หญ้านกสีชมพู หญ้าหางนกยูงใหญ่ อัตราการใช้ : 160 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 60-80 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 40 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 15-20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน

โรคในถั่วเขียว :

1.โรคใบจุดสีน้ำตาล

โรคนี้พบระบาดในฤดูฝน มักเกิดกับถั่วเขียวอายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ หลังการงอก และมีการระบาดมากในช่วงออกดอกจนถึงระยะที่ใกล้เก็บเกี่ยว ลักษณะของโรค คือ ใบเป็นจุดสีน้ำตาล มีลักษณะค่อนข้างกลม ตรงกลางแผลมองเห็นเป็นเส้นใยสีเทาอาจมีลักษณะเป็นวงสีเหลืองรอบแผล ขณะขยายตัว เมื่อแผลชิดกันจะมีลักษณะสีน้ำตาล ผลของโรค คือ ทำให้ฝักลีบ และมีขนาดเล็ก

การแก้ไขโดยการฉีดสารเคมีไทแรม โดยฉีดพ่นเมื่อถั่วอายุประมาณ 30 วัน หลังงอก

วิธีใช้ : ใช้อัตรา 10 – 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรคและพ่นซ้ำทุก 7 วัน

2.โรคราแป้ง

โรคนี้พบการระบาดในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศเย็น สปอร์จะได้รับความชื้น และเติบโตสร้างเส้นใยดูดกินน้ำเลี้ยงจากผิวใบของถั่ว ทำให้ใบแห้ง ลักษณะที่พบมักเกิดตามใบล่าง โดยมีเส้นใยของราสีขาวคล้ายผงแป้งบนใบถั่ว ต่อมาใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง และแห้งตาย ต้นถั่วเขียวแคระแกรน หากเกิดโรคในระยะออกดอกหรือติดฝัก จะทำให้ผลผลิตน้อยลง

การป้องกันฉีดพ่น สารคาร์เบนดาซิม (ยาเย็น) ใช้ได้ทุกช่วง

วิธีใช้ ใช้อัตรา 20-30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นลงบนพืชปลูก ทุก 5-7 วัน

3.โรครากและโคนเน่า โรคนี้พบได้เมื่อปลูกถั่วเขียวในพื้นที่ที่มีน้ำขังและการระบายน้ำไม่ดี ถั่วเขียวจะเป็น โรคดังกล่าวจะเป็นช่วงกลางถึงเกี่ยว ควรหลีกเลี่ยงการปลูกถั่วเขียวในพื้นที่ๆ มีน้ำขัง หรือใช้สาร เมทาแลกซิล

วิธีใช้:ใช้ ในอัตรา 20-40 กรัม ผสมกับ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณโคนต้นก็ได้

4.โรคไวรัสใบด่างเหลือง

ลักษณะอาการ เริ่มแรก ใบถั่วเขียวมีจุดด่างสีเหลืองเล็กๆ กระจายบนใบรวม 3 ใบแรก ต่อมา จุดด่างสีเหลืองขยายใหญ่จนใบ เปลี่ยนจากสีเหลืองปนสีเขียว กลายเป็นสีเหลืองจัด ใบยอดที่ แตกใหม่มีอาการด่างเหลือง ใบย่น ลำต้นแคระแกร็นฝักลีบเล็ก หรือไม่ติดฝัก การแพร่ระบาด ถ่ายทอด โดยแมลงพาหะ คือ แมลงหวี่ขาว

การป้องกัน และกำจัด ใช้ สารอิมิดาโคลพริด อัตราการใช้ : 3-5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

หมายเหตุ ถ้าเป็นเยอะให้ไถทิ้งหรือเผาทำลาย

แมลงศัตรูถั่วเขียว และการป้องกันกำจัด

1.หนอนแมลงวันเจาะต้น

เกิดจากหนอนแมลงที่วางไข่ ในระยะต้นกล้าหลังงอกใหม่ เมื่อฟักตัวเป็นหนอนจะเข้ากัดกินเนื้อเยื่อตามใบ และลำต้น ทำให้ต้นถั่วตาย หากเป็นต้นถั่วโตแล้ว หนอนจะเข้าเจาะกินลำต้นบริเวณยอด ทำให้ยอดเหี่ยวตาย

การป้องกัน และกำจัดโดยการหว่านคาร์แทปไฮโดรคลอร์ไรด์+ฟีโนบูคาร์บ 3-5กิโลกรัม/ไร่ ก่อนปลูกหรือหลังปลูก

2.เพลี้ยอ่อน

พบระบาดมากในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง โดยเพลี้ยจะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงตามยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อน ทำให้ยอดหงิกงอ ดอกร่วง ฝักร่วง และต้นแคระแกรน การป้องกันกำจัด ทำได้โดยการฉีดพ่นด้วย สารอะเซทามีพริด ยาเย็น สารกำจัดแมลง ชนิดดูดซึม กำจัดแมลงได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยกระโดด แมลงบั่ว ด้วงหมัด

วิธีใช้ อัตราส่วน10-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ควรเว้นระยะก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 14 วัน

3.เพลี้ยไฟ

พบระบาดมากในช่วงฝนทิ้งช่วง และแดดร้อน โดยเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด และดอก ทำให้ยอดหงิกงอ ใบแห้ง ดอกร่วง ฝักอ่อนร่วงหรือลีบ ไม่ติดเมล็ด

ป้องกัน และกำจัดโดยวิธีฉีดพ่นฟีโนบูคาร์บ ฉีดพ่นทั่วแปลง

วิธีใช้ อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร อัตราการใช้น้ำ 40 ลิตร ต่อไร่

4.หนอนเจาะฝัก

พบระบาดในปลายฤดูฝนหรือฤดูแล้งป้องกันและกำจัดโดยการฉีด อีมาเมกตินเบนโซเอต ฉีดพ่นทั่วแปลง

วิธีใช้ อัตราส่วน 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ควรเว้นระยะก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 14 วัน

5.มอดถั่ว

เป็นแมลงที่เข้าทำลายเมล็ดถั่วในระยะที่อยู่ในฝัก สามารถติดไปกับเมล็ดในช่วงการเก็บเกี่ยว ทำให้มีการแพร่พันธุ์ และกัดกินเมล็ดขณะเก็บในถุงกระสอบ

ป้องกัน และกำจัดได้โดยการคลุกเมล็ดด้วย อิมิดาคลอพริด คลุกเมล็ดพันธุ์ สารกำจัดแมลง คลุกเมล็ดก่อนปลูก 10 กรัมต่อ เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

6.เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็กเคลื่อนไหวช้า ผนังลำตัวอ่อนนุ่ม มีส่วนท้องโต ดูดกินน้ำเลี้ยงตามยอดใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อน ทำให้ต้นแคระแกร็น ยอดบิดเบี้ยว และเมล็ดลีบ ทำให้ผลผลิตเสียหาย

ช่วงเวลาระบาด ในฤดูแล้ง หรือฤดูฝนที่เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงอากาศร้อน และแห้งแล้ง

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นสารอะซีทามิพริด ( สูตรเย็น ) ให้ทั่วแปลง

วิธีใช้ : ใช้อัตรา 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นสารให้ทั่วเมื่อพบการระบาด

7.หนอนกระทู้

ลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน เมื่อกางปีกกว้าง ประมาณ 3 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มตามใบพืช มีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมไว้ ตัวหนอนมีสีเขียวหรือน้ำตาลอ่อนมีจุดสีดำ2 จุดด้านข้างทำลายโดยกัดกินใบ ดอกและฝักอ่อน ในเวลากลางวันมักหลบซ่อนในดินการป้องกัน กำจัดด้วยลูเฟนนูรอน ในการกำจัดหนอนทุกชนิดยับยั้งตัวอ่อนใช้ได้ในทุกชนิดพืช

วิธีใช้ : ใช้อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรพ่นให้ทั่วต้นเมื่อแตกใบอ่อน และพ่นซ้ำอีกครั้งหลังพ่นสารครั้งแรก 7 วัน

การเก็บเกี่ยว

- ใช้คนเก็บ เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 65-70วันเก็บเกี่ยวถั่วเขียวขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม ถ้าสภาพการเพาะปลูก มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง อายุเก็บเกี่ยวถั่วเขียวจะยืดออกไป แต่สภาพแวดล้อม การเพาะปลูกมีอุณหภูมิสูง ความชื้นต่ำ อายุการเก็บเกี่ยวจะสั้นลง โดยทั่วไปจะ เก็บเกี่ยว 2 ครั้ง โดยเก็บเกี่ยวครั้งแรกเมื่อมีฝักแก่ (ฝักแก่มีสีดำ) ร้อยละ 80 และครั้งที่ 2 หลังจากเก็บเกี่ยวครั้งแรกประมาณ 14 วัน เก็บเกี่ยวโดยใช้มือปลิด แต่ถ้าเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรกล จะทำให้เก็บเกี่ยวถั่วเขียวได้เร็ว แต่สามารถ เก็บเกี่ยวถั่วเขียวได้เพียงครั้งเดียว ทำให้สูญเสียเมล็ดถั่วเขียวที่ยังไม่แก่

- รถเกี่ยว เมื่อถั่วเขียวสุกแก่พอที่จะเก็บเกี่ยวได้อายุประมาณ 60 - 75 วัน เก็บฝักถั่วเขียวนำไปตากแดดให้แห้ง นวด แล้วนำเมล็ดไปจำหน่ายต่อไป

ขอขอบคุณเครดิตที่มาข้อมูล : ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท สำนักงานเกษตรมัญจาคีรี

ครบเครื่องเรื่องเกษตร ต้องที่ธัญธวัชการเกษตร

สอบถาม-สั่งซื้อสินค้า : ร้านธัญธวัชออนไลน์ https://www.thanthavat.co.th/ หรือทั้ง 6 สาขาใน จ.เพชรบูรณ์

1. สาขายางโด่ - บ้านย่างโด่ อ.วิเชียรบุรี ( เยื้องกรมบังคับคดี ) โทร.086-466-4986

2. สาขาบวงสรวง - อ.วิเชียรบุรี (ทางไปศาลสมเด็จพระนเรศวร) โทร.086-466-4990

3. สาขามรกต - อ.วิเชียรบุรี (ทางไปนาไร่เดียว) โทร. 086-466-4983

4. สาขาศรีเทพ - อ.ศรีเทพ (ติดการไไฟ้า) โทร.086-466-4984

5. สาขาศรีมงคล -อ.บึงสามพัน (บ้านหนองงูเหลือม) โทร. 086-466-4995

6. สาขาบึงสามพัน - ต.ซับสมอทอด (ทางไปวังพิกุล) โทร.086-466-4989