เตือนภัยระวัง "โรคราน้ำค้าง" ในพืชตระกูลแตง

0

โรครานํ้าค้าง (Downy mildew) พบทั่วไปในแหล่งปลูกต่างๆ ที่มีความชื้นสูง เป็นโรคที่ระบาด ทำความเสียหายได้มาก โรคเกิดได้ทั้งที่ใบ ผล กิ่งก้านต่างๆ ทำให้เซลตาย ใบร่วง ผลผลิตคุณภาพตํ่า ต้นอ่อนแอ และแคระแกรน ต้นอ่อนอาจตายได้ หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม พืชอาจได้รับความเสียหาย 50-75 % กันเลยทีเเดียว สาระน่ารู้คู่เกษตร กับธัญธวัชการเกษตร มาเตือนภัยให้ระวังโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง

ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ : พืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อ แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ

ระยะการเจริญเติบโตของพืช : ทุกระยะการเจริญเติบโต

ปัญหาที่ควรระวัง : โรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Pseudoperonospora cubensis)

ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ

มักพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน แล้วขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน อาการเริ่มแรก บนใบปรากฏแผลฉ่ำน้ำ ต่อมาแผลจะขยายตามกรอบของเส้นใบย่อย ทำให้เห็นแผลเป็นรูปเหลี่ยมเล็กๆ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในตอนเช้าที่สภาพอากาศมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยของเชื้อรา ลักษณะเป็นขุยสีขาวถึงเทา ตรงแผลบริเวณด้านใต้ใบ แผลจะขยายติดต่อกัน เป็นแผลขนาดใหญ่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น พืชที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพของผลจะลดลง หากเป็นโรคในระยะมีผลอ่อน จะทำให้ผลลีบเล็ก และบิดเบี้ยว

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและปราศจากโรค

2. ก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส นาน 20 - 30 นาที หรือคลุกเมล็ดด้วยสารเมทาแลกซิล 35 % อัตรา 7 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

3. ไม่ปลูกพืชแน่นเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสูง

4. หมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศในแปลงได้ดี และทำลายแหล่งอาศัยของ ด้วงเต่าแตง

5. กำจัดด้วงเต่าแตง ซึ่งอาจเป็นตัวแพร่เชื้อราสาเหตุโรค โดยการจับทำลาย หรือพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น ฟิโพรนิล 5 % อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล 85 % อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

6. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคเริ่มระบาดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น แมนโคเซบ+เมทาแลกซิล อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร คลอโรทาโลนิล อัตรา 20-30 ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งใบและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน

7. แปลงที่เป็นโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น

8. แปลงที่เป็นโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืชไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และไม่ปลูกพืชกระกูลแตงซ้ำ ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน

CR ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ครบเครื่องเรื่องเกษตร ต้องที่ธัญธวัชการเกษตร

สอบถาม-สั่งซื้อสินค้า : ร้านธัญธวัชออนไลน์ https://www.thanthavat.co.th/ หรือทั้ง 6 สาขาใน จ.เพชรบูรณ์

1. สาขายางโด่ - บ้านย่างโด่ อ.วิเชียรบุรี ( เยื้องกรมบังคับคดี ) โทร.086-466-4986

2. สาขาบวงสรวง - อ.วิเชียรบุรี (ทางไปศาลสมเด็จพระนเรศวร) โทร.086-466-4990

3. สาขามรกต - อ.วิเชียรบุรี (ทางไปนาไร่เดียว) โทร. 086-466-4983

4. สาขาศรีเทพ - อ.ศรีเทพ (ติดการไไฟ้า) โทร.086-466-4984

5. สาขาศรีมงคล -อ.บึงสามพัน (บ้านหนองงูเหลือม) โทร. 086-466-4995

6. สาขาบึงสามพัน - ต.ซับสมอทอด (ทางไปวังพิกุล) โทร.086-466-4989