เตือน !!! เพลี้ยไฟ ระบาดในกล้วยไม้

0

เตือน !!! การระบาดเพลี้ยไฟ (Cotton Thrips) ในกล้วยไม้ในฤดูร้อน ด้วยความปราถนาดีจาก สาระน่ารู้คู่เกษตรกับธัญธวัชการเกษตร

เตือน... เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ในทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากช่วงนี้อุณหภูมิสูงขึ้นสภาพอากาศร้อน แห้งแล้ง ระวังการระบาดของเพลี้ยไฟ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “ตัวกินสี” ทำลายดอกกล้วยไม้ ทำให้ดอกเสียคุณภาพ เสียราคา โดยเฉพาะผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อการส่งออก เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูที่มีปัญหามากในไม้ดอกหลายชนิด เช่น กล้วยไม้ เบญจมาศ กุหลาบ เยอร์บีร่า มะลิและดาวเรือง ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงกล้วยไม้อย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกสุ่มช่อดอกกล้วยไม้ที่มีดอกบานมากกว่า ๔ ดอก จำนวน ๔๐ ช่อดอก หากพบเพลี้ยไฟ ๘ ตัว ให้รีบกำจัด หรือ ขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อหาทางควบคุมและป้องกันกำจัดก่อน เกิดการระบาดรุนแรง

รูปร่างลักษณะ

เพลี้ยไฟเป็นแมลงปากดูดมีขนาดเล็กมากลำตัวยาวประมาณ ๒ มิลลิเมตร รูปร่างเรียว แคบยาวตัวอ่อนและตัว เต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ลำตัวสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาลอ่อน ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลดำ มีทั้งชนิดปีกและไม่มีปีก ชนิดที่มีปีกจะมีปีก ๒ คู่ลักษณะคล้ายขนนกทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเคลื่อนไหวได้รวดเร็วมาก เมื่อถูกรบกวนมักจะวิ่งหลบหนีซ่อนตัว หรือกระโดดบินหนีไปอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่สังเกตจะมองไม่เห็นตัว

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยไฟเป็นศัตรูตัวสำคัญของกล้วยไม้ โดยเฉพาะวงการกล้วยไม้ตัดดอก จัดเป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก โดยตัว เต็มวัยจะวางไข่ไว้ในเนื้อเยื่อโดยเฉพาะดอกกล้วยไม้ เมื่อเกิดเป็นตัวอ่อนก็จะเริ่มทำลายดอก หรือส่วนอื่นที่วางไข่ไว้ ตัวอ่อนจะชอบอยู่ตามซอกกลีบดอกที่ซ้อนทับกัน ระบาดหนักช่วงอากาศร้อนแห้งแล้ง สังเกตอาการด่างตามขอบกลีบดอก เนื่องจากถูกตัวอ่อนดูด เพลี้ยไฟเข้าทำลายที่ช่อดอกอ่อน ดอกอ่อนจะถูกดูดกินน้ำเลี้ยงจนทำให้ดอกแห้งฝ่อ พบระบาด มากในกล้วยไม้ประเภทหวายแอสโค และช้าง

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

เพลี้ยไฟจะระบาดทำลายรุนแรงในฤดูร้อนหรือสภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง โดยเฉพาะในระหว่างเดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม แต่อย่างไรก็ตามการขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปีแต่อาจจะรุนแรงเป็นระยะ ๆ

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

๑. ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง แขวนหรือปักไว้ในสวนเพื่อตรวจสอบดูว่าเริ่มมีการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟใน แปลงพืชหรือยัง ซึ่งช่วยได้ในแง่การทำนายการระบาด นอกจากนี้กับดักยังใช้ในการศึกษาข้อมูลอื่น ๆ ของเพลี้ยไฟด้วย

๒. สุ่มสำรวจหากพบอาการทำลาย ๘ ช่อดอก จาก ๔๐ ช่อดอก หากจำเป็นต้องใช้สารเคมีให้ ใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง และพ่นแบบสลับกัน ทุก ๑๔ วัน ดังนี้

-อิมิดาโคลพริดอัตราการใช้ (แบบเม็ด4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ(แบบน้ำ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)

ขอขอบคุณเครดิตที่มาจาก : กรมวิชาการเกษตร เรียบเรียงโดย กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ครบเครื่องเรื่องเกษตร ต้องที่ธัญธวัชการเกษตร

สอบถาม-สั่งซื้อสินค้า : ร้านธัญธวัชออนไลน์ https://www.thanthavat.co.th/ หรือทั้ง 5 สาขาใน จ.เพชรบูรณ์

1. สาขายางโด่ - บ้านยางโด่ อ.วิเชียรบุรี ( เยื้องกรมบังคับคดี ) โทร.086-466-4986

2. สาขาบวงสรวง - อ.วิเชียรบุรี (ทางไปศาลสมเด็จพระนเรศวร) โทร.086-466-4990

3. สาขามรกต - อ.วิเชียรบุรี (ทางไปนาไร่เดียว) โทร. 086-466-4983

4. สาขาศรีมงคล -อ.บึงสามพัน (บ้านหนองงูเหลือม) โทร. 086-466-4995

5. สาขาบึงสามพัน - ต.ซับสมอทอด (ทางไปวังพิกุล) โทร.086-466-4989