ปรับปรุงบำรุงดิน

0

การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จำเป็นต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่อง ถูกวิธีและเหมาะสมตามลักษณะและสมบัติของดิน สาระน่ารู้คู่เกษตร กับธัญธวัชการเกษตร มี วิธีการปรับปรุงบำรุงดิน มาแนะนำ

การปรับปรุงบำรุงดิน ที่มีความสามารถในการให้ผลผลิตพืชต่ำ จะต้องมีการปฏิบัติพร้อม ๆ กันไปกับการอนุรักษ์ดินหรือการควบคุมการสูญเสียเนื้อดินออกไปจากแปลงปลูก หลักการในประเด็นนี้นับว่าเป็นมาตรการที่สำคัญมาก ในทางปฏิบัติ วิธีการปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้นพร้อม ๆ กันไปกับการป้องกันเสื่อมโทรมของดิน อาจปฏิบัติได้โดยวิธีการหลัก ๆ ดังนี้


(1) การใช้ปุ๋ยเคมี
ใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสมบัติและสูตรปุ๋ยเหมาะสม เพื่อบำรุงดินโดยการเพิ่มธาตุอาหารพืชที่จำเป็นให้กับดินและพืช โดยเฉพาะธาตุ N P และ K โดยทั้งนี้ ให้ทำการวิเคราะห์ดินก่อนว่ามีความสมบูรณ์เพียงไร ขาดธาตุอาหารอะไรบ้าง ถ้าดินยังขาดธาตุอาหารพืชชนิดอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหารรองหรือธาตุอาหารเสริม ต้องพิจารณาให้ธาตุอาหารรอง เช่น ธาตุ Mg S หรือธาตุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ เช่น Zn Fe เป็นการเพิ่มเติมด้วย

(2) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และหรือปุ๋ยชีวภาพ
เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ทางด้านธาตุอาหารพืชในดินเป็นหลัก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์โดยทั่ว ๆ ไปมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามการใช้ปุ๋ยอินทรีย์บางชนิด เช่น ปุ๋ยมูลไก่ ปุ๋ยมูลค้างคาว ที่มีปริมาณธาตุอาหารพืชค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เช่น ปุ๋ยมูลโค ตะกอนขี้หมู ถ้ามีการใช้ในปริมาณมาก เช่น การใช้มากกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นไป จะมีผลดีทั้งในแง่ของการบำรุงดินเพื่อเพิ่มพูนธาตุอาหารพืชในดินและการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินไปด้วยพร้อม ๆ กัน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ ทำให้เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์บางชนิดลงดินหรือส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินมากกว่าการใช้เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชโดยตรง


(3) การใช้สารปรับปรุงดิน
ดินบางประเภทอาจไม่มีปัญหาสำคัญทางด้านปริมาณอินทรียวัตถุหรือชนิด และปริมาณธาตุอาหารพืชในดินมากนัก แต่อาจมีปัญหาสำคัญทางด้านสมบัติทางกายภาพ เช่น เป็นดินที่มีเนื้อดินที่ไม่จับตัวกันเป็นก้อน ไม่อุ้มน้ำ เกิดการชะล้างพังทะลายง่าย หรือผิวหน้าดินอาจเกิดการแข็งตัวแน่นทึบเวลาเมื่อดินเปียกและแห้งตัวลง ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือสารปรับปรุงดินในรูปสารอนินทรีย์หรือสารอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสารอินทรีย์ธรรมชาติ สารอินทรีย์ที่ได้จากผลพลอยได้ทางการเกษตร เช่น เศษเปลือกมันค้างปี กากอ้อย หรืออาจใช้ผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ฟอสโฟยิปซั่มจากโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อแก้ปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบนผิวดิน ฯลฯ สารปรับปรุงดินในรูปปูนไลม์ ปูนโดโลไมท์ หินฝุ่นหรือหินปูนบด แร่ที่มีการปรุงแต่งชนิดต่าง ๆ หรือในรูปสารอินทรีย์สังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น สารดูดน้ำโพลิเมอร์ ฯลฯ ซึ่งสำหรับมันสำปะหลังที่เป็นพืชไร่ที่มีราคาผลผลิตต่อหน่วยค่อนข้างต่ำและไม่แน่นอน การใช้สารปรับปรุงดินในรูปแร่ปรุงแต่งสารสังเคราะห์หรือสารอื่น ๆ ที่มีราคาต่อหน่วยค่อนข้างแพง ในทางปฏิบัติไม่แนะนำให้ใช้เพราะจะทำให้มีต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังสูงเกินไปและผลที่ได้อาจทำให้ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป

(4) การใช้ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ร่วมกับสารปรับปรุงดินอย่างผสมผสาน
เนื่องจากดินที่ใช้ในการปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่ มักมีปัญหาทั้งทางด้านความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชและสมบัติทางกายภาพบางประการ เช่น เป็นดินที่มีสมบัติแข็งและแน่นทึบไม่ร่วนซุย ทำให้ไม่เกิดการแทรกซึมของน้ำที่ดีพอ หรือเป็นดินที่มีเนื้อทรายจัด ไม่อุ้มน้ำ ไม่ดูดยึดปุ๋ย และเกิดการชะล้างพังทะลายได้ง่าย ในการใช้ปุ๋ยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวไปพร้อม ๆ กันนั้น ควรใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกันอย่างผสมผสานมากกว่าจะใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะการใช้ปุ๋ยทั้งสองชนิดร่วมกันกับสารปรับปรุงดินอย่างเหมาะสม จะช่วยปรับปรุงและบำรุงดินให้มีสมบัติทั้งทางด้านกายภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดินดีขึ้นพร้อม ๆ กัน และดีขึ้นกว่าเดิมอย่างยั่งยืนยาวนานมากกว่าสารปรับปรุงดิน (Soil Conditioners) (2) สารอินทรีย์ ได้แก่ สารอินทรีย์ธรรมชาติที่ไม่มีการปรุงแต่งหรือมีการปรุงแต่ง เช่น เศษซากพืช ปุ๋ยหมัก ฯลฯ ผลพลอยได้ทางการเกษตรโดยตรงและจากโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในและนอกภาคเกษตร เช่น ขุยมะพร้าว แกลบดิบ เปลือกมันค้างปี กากอ้อย กากน้ำตาล สารฮิวมัสและจีเอ็มแอล (GML) จากโรงงานผงชูรส กากกระดาษ ฯลฯ รวมทั้งสารอินทรีย์สังเคราะห์ที่สังเคราะห์ขึ้นโดยขบวนการทางเคมี เช่น สารโพลิเมอร์ที่ละลายน้ำได้ เช่น สารโพลีอครีลามีด (หรือ PAM) สารดูดน้ำโพลิเมอร์ สารประกอบแอมโมเนียมลอเร็ชซัลเฟต (หรือสารอกริ-เอส-ซี) เป็นต้น


การจำแนกประเภทของสารปรับปรุงดินตามแหล่งที่มาหรือแหล่งกำเนิด แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

  • 1) สารปรับปรุงดินที่ได้จากแหล่งธรรมชาติ เช่น เศษพืชต่าง ๆ แร่พูไมซ์
  • 2) สารปรับปรุงดินในรูปผลพลอยได้ต่าง ๆ เช่น ขุยมะพร้าว เปลือกมันค้างปี ฟอสโฟยิบซั่ม ฯลฯ และ
  • 3) สารปรับปรุงดินที่ได้จากการสกัดหรือจากการสังเคราะห์ทางเคมี เช่น สารเคมีในรูปสารประกอบแคลเซี่ยมโพลีซัลไฟด์ สารดูดน้ำโพลิเมอร์ สารโพลีอครีลามีด (หรือ PAM) ฯลฯ

ครบเครื่องเรื่องเกษตร ต้องที่ธัญธวัชการเกษตร

สอบถาม-สั่งซื้อสินค้า : ร้านธัญธวัชออนไลน์ https://www.thanthavat.co.th/ หรือทั้ง 6 สาขาใน จ.เพชรบูรณ์

1. สาขายางโด่ - บ้านยางโด่ อ.วิเชียรบุรี ( เยื้องกรมบังคับคดี ) โทร.086-466-4986

2. สาขาบวงสรวง - อ.วิเชียรบุรี (ทางไปศาลสมเด็จพระนเรศวร) โทร.086-466-4990

3. สาขามรกต - อ.วิเชียรบุรี (ทางไปนาไร่เดียว) โทร. 086-466-4983

4. สาขาศรีเทพ - อ.ศรีเทพ (ติดการไไฟ้า) โทร.086-466-4984

5. สาขาศรีมงคล -อ.บึงสามพัน (บ้านหนองงูเหลือม) โทร. 086-466-4995

6. สาขาบึงสามพัน - ต.ซับสมอทอด (ทางไปวังพิกุล) โทร.086-466-4989